วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 2

1.  สายเคเบิลที่ใช้เชื่อมต่อกับเสาอากาศไปยังเครื่องโทรทัศน์จัดเป็นสายประเภทใด
ก.  สายโคแอกเชียล                                ข.สายยูทีพี
ค.  สายไฟฟ้า                                          ง.  สายเอสทีพี

2.  สื่อกลางส่งข้อมูลชนิดใดต่อไปนี้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีที่สุด
ก.  สายโคแอกเชียล                                ข.  สายยูทีพี
ค.  สายเอสทีพี                                        ง.  ถูกทั้งข้อ  ก.  และ  ค.

3.  ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ส่วนประกอบของเครือข่าย
ก.  การ์ดเครือข่าย                    ข.  เครื่องพิมพ์
ค.  โปรโตคอล                         ง.  ฮับ
4.การส่งสัญญาณจากสถานีภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่าอะไร
ก.  Uplink                          ข.  Downlink
ค.  Upload                         ง.  Download

5.  หัวเชื่อมต่อที่ใช้งานบนเครือข่ายแลนสำหรับสายยูทีพีคือชนิดใด
ก.  IEEE  802                                            ข.  RJ-11
ค.  RJ-45                            ง.  RG-58










เฉลย  แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 2
1.  ตอบ   ก.
2.  ตอบ   ก.
3.  ตอบ   ข.
4.  ตอบ   ก.
5.  ตอบ   ค.

สื่อกลางแบบคลื่นวิทยุ

สื่อกลางแบบคลื่นวิทยุ
คือการสื่อสารข้อมูลโดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพาหะ หรือไม่มีสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล มีการใช้งาน 3 ลักษณะ
  + ไมโครเวฟ (Microwave)
  + ดาวเทียม (Satellite Link)
  + สื่อสารวิทยุ (Radio Link)
ไมโครเวฟ (Microwave)
เป็นการสื่อสารระหว่างสถานีภาคพื้นสองสถานี ความถี่ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่ในย่านไมโครเวฟ มีลักษณะเฉพาะคือ
+ ใช้สื่อสารระหว่างสถานี
+ ระยะระหว่างสถานีคือ 50 กม.
+ ทิศทางจานสายอากาศต้องตรงกัน
+ อาจเกิดปัญหาการบังของสิ่งปลูกสร้าง
+ อาจเกิดปัญหาจากสภาพอากาศ

ดาวเทียม (Satellite Link)
เป็นการสื่อสารระหว่างดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือโลกกับสถานีภาคพื้น หรือบ้านพักอาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ
+ ใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง
+ ตัวดาวเทียมจะรับข้อมูลจากสถานี
    ภาคพื้น  ขยายและสะท้อนสัญญาณ
    กลับมาที่สถานีภาคพื้นอีกทีหนึ่ง
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาขึ้น
    (Up Link) ประมาณ 4 GHz
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาลง
    (Down Link) ประมาณ 6 GHz


ดาวเทียม (Satellite Link)
เป็นการสื่อสารระหว่างดาวเทียมที่ลอยอยู่เหนือโลกกับสถานีภาคพื้น หรือบ้านพักอาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ
+ ใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง
+ ตัวดาวเทียมจะรับข้อมูลจากสถานี
    ภาคพื้น  ขยายและสะท้อนสัญญาณ
    กลับมาที่สถานีภาคพื้นอีกทีหนึ่ง
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาขึ้น
    (Up Link) ประมาณ 4 GHz
+ ความถี่ของสัญญาณส่งขาลง
    (Down Link) ประมาณ 6 GHz
สื่อสารวิทยุ (Radio Link)
เป็นการสื่อสารระหว่างสถานีส่งวิทยุกับอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์ เพจเจอร์ อาศัย มีลักษณะเฉพาะคือ
+ มีสถานีแม่ข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ (Base Station) เป็นรัศมีกว้าง
+ ความถี่ส่งจากสถานีแม่ข่ายจะต่ำกว่าจากอุปกรณ์สื่อสาร
+ สื่อสารได้ทั้งแบบทางเดียวและสองทาง


http://www.burapaprachin.ac.th/network/Test1.htm

สื่อกลางแบบตัวนำโลหะ

1.       สื่อกลางแบบตัวนำโลหะ
                    เป็นสายนำสัญญาณ (Transmission line) ที่ใช้ส่งข้อมูลมี สัญญาณไฟฟ้าเป็นพาหะ แยกเป็น 2 แบบ คือ
  •        สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)
  •       สายโคแอกเชียล (Coaxial cable
  
สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)

                ประกอบด้วยสายสัญญาณจำนวนคู่ แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียวตลอดจนถึงปลาย เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงและจากภายนอก และมีฉนวนภายนอกห่อหุ้มอีกชั้น

 

    แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
 ชนิดหุ้มฉนวน (Shielded twisted pair: STP)
 ชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair: UTP)


สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)
                สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)สายไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอล์ย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภาย นอกสาย และมีฉนวนไฟฟ้า เช่นพลาสติก ห่อหุ้มอีกชั้น
    ระยะทางในการใช้งานจะสามารถใช้ได้ไกล แต่ไม่นิยมเนื่องจากมีราคาแพง  โดยมากจะนำไปใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูง เช่น Gigabit    Network หรือติดตั้งบริเวณที่มีการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก

สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (UTP)
สายไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าภายนอกเท่านั้น ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบ STP
    เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก มักใช้ติดตั้งภายในอาคาร หรือภายในห้อง  หรือหากต้องการติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องเดินสายภายในท่อเหล็ก  สามารถใช้ส่งข้อมูลความเร็ว 100 Mbps



สายโคแอกเชียลหรือสายซีลด์(Coaxial cable)
เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวี  มีใช้งานหลายลักษณะงาน ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่  ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์ หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์



   ที่ใช้ทั่วไปมี  2  ชนิด  คือ 50 โอห์ม  ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล  และชนิด 75 โอห์ม  ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก  สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนจากภายนอก  สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง  500  MHz


สายโคแอกเชียล
สายโคแอกเชียลที่ไช้กับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ
  • สายโคแอกเชียลแบบอ่อน (Thinwire coaxial cable)
                              หุ้มด้วยฉนวนแบบบางมีขนาดเล็กโค้งงอได้ง่าย สำหรับติดตั้งในอาคารหรือห้อง
  • สายโคแอกเชียลแบบแข็ง (Thickwire coaxial cable)
          มีฉนวนภายนอกที่หนา  ทำให้สายมีขนาดใหญ่  สามารถทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคาร
เส้นใยนำแสง (Optical Fiber)
                 อาจเรียกว่าเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก  เป็นตัวกลางของสัญญาณแสง ทำมาจากวัสดุประเภทแก้วที่มีความบริสุทธิ์มาก  เส้นใย
นำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก ขนาดประมาณ เส้นผมของมนุษย์ อาศัยหลักการสะท้อน   และหักเหของแสงในการส่งแสงลงไปในสาย
    ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
      - แกน (CORE)
      - แก้วหุ้ม (CLAD)
     - ปลอกหุ้มหรือฉนวนภายนอก



ชนิดของเส้นใยนำแสง
วิธีการแบ่งชนิดของเส้นใยแสงมีหลายวิธี เช่น
- แบ่งตามประเภทวัสดุ
    + Silica glass optic fiber
    + Multi component glass optic fiber
    + Plastic optic fiber
- แบ่งตามโหมด (Propagation Mode) ลักษณะการเดินทางของแสง
   + Single Mode optic fiber
   + Multi Mode optic fiber
- แบ่งตามดัชนีการหักเหแสงของ CORE ลักษณะการสะท้อนของแสง
   + Step Index optic fiber (SI - fiber)
   + Graded  Index optic fiber  ( GI  fiber)




แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่ 2

1.  ข้อใดต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กับช่องทางการสื่อสาร
ก.  สายเคเบิล                          ข.  แถบความถี่
ค.  คอมพิวเตอร์                      ง.  คลื่นวิทยุ

2.  เครือข่ายท้องถิ่นส่วนใหญ่ส่งข้อมูลแบบใด
ก.  บรอดแบนเน็ตเวิร์ก                           ข.  อินเทอร์เน็ตเวิร์ก
ค.  เบสแบนด์                                          ง.  เป็นไปได้ทุกข้อ

3.  ข้อใดต่อไปนี้ใช้การสื่อสารแบบบรอดแบนด์
ก.  เครือข่ายท้องถิ่น                                ข.  เคเบิลทีวี
ค.  ADSL                                  ง.  ถูกทั้งข้อ  ข.  และ  ค.

4.  สื่อกลางส่งข้อมูลต่อไปนี้ข้อใดไม่ใช่สื่อชนิดไร้สาย
ก.  คลื่นวิทยุ                            ข.  ใยแก้วนำแสง
ค.  อินฟราเรด                         ง.  บลูธูท

5.  สายโทรศัพท์ที่ใช้งานตามบ้านพักอาศัยทั่วไปจัดเป็นสายประเภทใด
ก.  สายโคแอกเชียล                                ข.  สายคู่บิดเกลียว
ค.  สายไฟฟ้า                                          ง.  ถูกทั้งข้อ ก.  และ  ข.









เฉลย  แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่ 2
1.  ตอบ   ข.
2.  ตอบ   ก.
3.  ตอบ   ข.
4.  ตอบ   ข.
5.  ตอบ   ข.

ช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) หมายถึงสื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางและอนุญาตให้ข้อมูล/สารสนเทศผ่านจากจุดส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถนำไปได้นั้น เรียกว่า ความจุของช่องทางการสื่อสาร หรือ แบนด์วิดธ์ (Bandwidth) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bits) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) สื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร ประกอบไปด้วย
สายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ประกอบด้วยลวดทองแดงหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ ซึ่งโดยทั่วไปองค์การโทรศัพท์ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้ บริการดังกล่าวได้แก่
  • Voice-grade Service หมายถึง การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณแอนะล็อก (Analog) บนสายโทรศัพท์ โดยมีโมเด็มเป็นเครื่องแปลงสัญญาณ มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 56 K bps โดยประมาณ
  • ISDN (Integrated Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วและความจุของช่องสื่อสารสูงถึงประมาณ 128 K bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
  • Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 M bps (2,000,000 bits per second) โดยผ่านโมเด็ม สามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดิทัศน์ รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ on line real-time ของผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ ในระบบเครือข่าย
สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) หรือที่รู้จักในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television) ประกอบด้วยลวดทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยฉนวนกันน้ำ จัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูง มีการรบกวนต่ำ นิยมใช้เป็นช่องสัญญาณแอนะล้อกผ่านทะเล มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 M bps ซึ่จัดได้ว่าเป็นช่องสื่อสารที่มีความจุสูงมาก
  • สายใยแก้ว (Fiber Optic Cable) ประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กจิ๋วเท่าเส้นผมมนุษย์ ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน
เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้า จึงทำให้มีความเร็วในการนำส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารทุกชนิด
สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave Signals หรือ Radio Signals) เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง (High Speed Wireless) ส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง จึงต้องมีสถานีรับ-ส่งเป็นระยะๆ จากจุดส่งถึงจุดรับ สถานีขยายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศ
จากข้อจำกัดของสัญญาณไมโครเวฟดังกล่าวนี้ จึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม (Satellites)  
ขึ้นมาเพื่อส่งสัญญาณไมโครเวฟในระยะที่ห่างจากพื้นดิน โดยดาวเทียมจะทำการรับสัญญาณ จากสถานีภาคพื้นดินเพื่อขยายสัญญาณ ปรับความถี่ของคลื่น และส่งสัญญาณกลับลงมายังสถานีภาคพื้นดินหลายจุด ในบริเวณที่กว้างมาก เพื่อลดข้อจำกัดของไมโครเวฟ และที่สำคัญคือ ดาวเทียมสามารถสื่อสารข้อมูลจากแหล่งส่ง 1 แหล่งไปยังผู้รับจำนวนมากบนพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก




http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-1119.html

แบบทดสอบหลังเรียน

แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 1


1.  ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ส่วนประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล
ก.  โปรโตคอล                         ข.  ผู้รับ
ค.  ผู้ส่ง                                    ง.  โปรแกรมวินโดวส์

2. ข้อมูลที่ประกอบไปด้วยข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  จัดเป็นข้อมูลประเภทใด
ก.  สื่อประสม                         ข.  มัลติมีเดีย
ค.  สื่อซีดีรอม                          ง.  ถูกทั้ง ก.  และ  ข.

3.  ข้อใดต่อไปนี้ไม่สามารถเป็นอุปกรณ์ที่เป็นได้ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ
ก.  โทรศัพท์                            ข.  คอมพิวเตอร์
ค.  วิทยุ                                    ง.  ถูกทั้ง  ก.  และ  ข.

4.  ข้อใดต่อไปนี้ให้ความหมายของโปรโตคอลได้ถูกต้องที่สุด
ก.  ชุดคำสั่งควบคุมโปรแกรมให้ทำงานตาม
ข.  ข้อตกลงการปฏิบัติตามลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์
ค.  ข้อตกลงที่ใช้สำหรับเป็นมาตรฐานด้านการสื่อสาร
ง.  ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับแปลผลบนเครือข่าย

5.  ข้อใดต่อไปนี้สามารถใช้เป็นช่องทางการสื่อสารบนเครือข่าย
ก. สายไฟฟ้า                           ข.  สายโทรศัพท์
ค.  คลื่นวิทยุ                            ง.  ถูกทุกข้อ









เฉลย  แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 1
1.  ตอบ   ง.
2.  ตอบ   ง.
3.  ตอบ   ค.
4.  ตอบ   ง.
5.  ตอบ   ง.


องค์การ ISO และแบบจำลอง OSI

 องค์กรกำหนดมาตรฐานสากลหรือมักเรียกสั้นว่า ๆ ISO นั้น จัดเป็นองค์กรหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโกเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสากล และมาตรฐาน ISO นี่เอง ก็ได้ครอบคลุมหักเกณฑ์เครือข่ายการสื่อสารด้วย ที่เรียกว่า Open Systems Interconnection หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า แบบจำอง OSI ซึ่งเป็นแบบจำลองอ้างอิงเครือข่ายมาตรฐานสากล โดยทาง ISO ได้พัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1984
แบบจำลอง OSI เป็นระบบเปิด ( Open System ) ที่อนุญาตให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ กล่าวคือ มาตรบานแบบจำลอง OSI ที่จัดทำขึ้นมานั้น ก็เพื่อวัตถุประสงค์ให้ระบบที่มีความแตกต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการใช้มาตรบานการสื่อสารที่เป็นสากล โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใด ๆ อย่างไรก็ตาม แบบจำลอง OSI ไม่ใช่โปรโตคอล ดังที่หลายคนเข้าใจกันแต่เป็นเพียงแบบจำลองแนวความคิด ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความเข้าใจในสถาปัตยกรรมเครือข่าย และปัจจุบันก็ได้มีการนำโมเดลนี้มาเป็นแบบจำลองทางสถาปัตยกรรมหลักสำหรับการสื่อสารในระดับสากล
แบบจำลอง OSI มีกรอบการทำงานเป็นลำดับชั้น หรือรียกว่า เลเยอร์ แต่ลำดับชั้นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน รวมถึงฟังก์ชันหน้าที่ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชั้น สำหรับลำดับชั้นต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมานั้น จะถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารร่วมกัน โดยแบบจำอง OSI ได้มีการแบ่งออกเป็น 7 ลำดับชั้นด้วยกันคือ คือ
·         ลำดับชั้นฟิสิคัส
·         ลำดับชั้นดาต้าลิงก์
·         ลำดับชั้นเน็ตเวิร์ก
·         ลำดับชั้นทรานสปอร์ต
·         ลำดับชั้นเซสซัน
·         ลำดับชั้นพรีเนเตชัน
·         ลำดับชั้นแอปพลิเคชัน
หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีการแบ่งเป็นลำดับชั้นต่าง ๆ มากมาย ซึ่งการมีหลาย ๆ ดับชั้นจะไม่เกิดความยุ่งยากเหรอ ในความเป็นจริงแล้ว การที่แบ่งเป็นส่วนการทำงานย่อย ๆ ที่เรียกว่าเลเยอร์หรือลำดับจะส่งผลดีกว่า ให้ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ กับการเขียนโปรแกรม ลองคิดดูว่า เราทำไมไม่เขียนโปรแกรมแบบรวมกันอยู่ในโมดูลเดียว แต่การออกแบบโปรแกรมที่ดี ควรเขียนโปรแกรมแยกออกเป็นโปรแกรมย่อยหรือโมดูลต่าง ๆ ซึ่งแต่ ละโมดูลก็จะมีหน้าที่การทำงานเฉพาะส่วนของตัวเอง การปรับปรุงหรือการ เปลี่ยนแปลงโปรแกรมในแต่ละโมดูลก็จะทำได้ง่าย ไม่ต้องไล่โปรแกรมตั้งแต่ต้น หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในบางโมดูลก็จะไม่ส่งผลกระทบกับโมดูลอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน การแบ่งเป็นลำดับชั้นของแบบจำลอง OSI ก็ใช้เพื่อการนี้เช่นกัน
ชื่อของลำดับชั้นทั้งเจ็ดที่เรียงลำดับในแบบจำลอง OSI ในบางครั้งก็ยากต่อการจดจำ แต่ก็มีแนวทางที่จะทำให้การจดจำลำดับชั้นทั้งเจ็ดได้ง่ายขึ้นจากประโยคที่ว่า “ All people seem to need data processing ”
แนวความคิดในการแบ่งลำดับชั้นสื่อสาร
สำหรับแนวความคิดในการแบ่งลำดับชั้นสื่อสารแบบจำลอง OSI สามารถสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
·         เพื่อลดความวับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และเข้าใจ
·         เพื่อให้แต่ละลำดับชั้นมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และแตกต่างกัน
·         เพื่อให้แต่ละลำดับชั้นปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
·         เพื่อให้ฟังก์ชันการทำงานในแต่ละลำดับชั้นที่ได้กำหนดขึ้นมานั้น สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
·         จากขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ลำดับชั้น ทำให้มีการสื่อสารในแต่ละลำดับชั้นมีความคล่องตัว และเพื่อป้องกันในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงบนเลเยอร์หนึ่ง ๆ แล้วส่งผลกระทบต่อเลเยอร์อื่น ๆ
·         จำนวนลำดับชั้นจะต้องมีจำนวนมากเพียงพอ และเหมาะสมต่อการจำแนกหน้าที่การทำงานให้กับแต่ละชั้นเท่าที่จำเป็น ซึ่งไม่ใช่มีจำนวนลำดับชั้นมากมายเทอะทะเกินความจำเป็น
สำหรับการพัฒนาแบบจำลองนี้ ผู้ออกแบบได้ออกแบบเพื่อให้มีการไหลของกระบวนการส่งผ่านข้อมูลไปยังส่วนล่างแบบต่อเนื่องกันไปในแต่ละชั้น กล่าวคือ การส่งข้อมูลจะส่งจากลำดับชั้นส่วนบนไปยังส่วนล่างจากชั้นหนึ่งไปยังอีกชั้นหนึ่งที่เชื่อมต่อกันเท่านั้น ไม่สามารถสื่อสารข้อมูลข้ามลำดับกันได้ โดยแต่ละลำดับชั้นจะมีกลุ่มหน้าที่ที่แตกต่างไป และการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจนให้กับแต่ละชั้นนี่เอง ทำให้ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมมีความเข้าใจง่าย และมีความยืดหยุ่นสูงสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้งานต่อไป โดยส่วนสำคัญที่สุดคือแบบจำลอง OSI จะมองผ่านอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้จะเป็นระบบที่เข้ากันไม่ได้ กล่าวคือ ถึงแม้ระบบที่สื่อสารกันจะมีความแตกต่างในสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานมีความแตกต่างกัน แต่นั้นไม่ใช่สาเหตุที่สร้างข้อจำกัดด้านการสื่อสารระหว่างกัน การสื่อสารระหว่างกันปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการสื่อสารที่ตั้งอยู่บนมาตรฐานของแบบจำลอง OSI ให้มองผ่านในเรื่องของระบบที่มีความแตกต่างข้ามไป โดยไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับใด ยี่ห้ออะไร รุ่นอะไรก็ตาม ก็สามารถสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ต่างระดับ ต่างรุ่น ต่างยี่ห้อ หรือต่างแพล็ตฟอร์มให้สื่อสารร่วมกันได้ เพียงแต่ผู้พัฒนานั้นให้ยึดหลักของแบบจำลอง OSI เป็นมาตรบานการสื่อสารบนระบบเครือข่าย ซึ่งนั่นก็คือเป้าหมายของแบบจำลอง OSI นั่นเอง


http://www.burapaprachin.ac.th/network/Page204.htm

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่ 1

เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี VoIP มีข้อดีอย่างไร
ก.  ติดต่อได้รวดเร็วทันใจ
ข.  ไม่ต้องเสียค่าบริการ  เพราะใช้คลื่นความถี่สาธารณะ
ค.  ช่วยลดต้นทุนด้านการสื่อสารข้ามประเทศได้มาก  ด้วยการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้
.  เสียงสนทนาฟังชัด    ไม่มีสัญญาณรบกวน  เนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล

2.  ระบบเครือข่ายโทรศัพท์แบบ VoIP  จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ใดในการสื่อสาร
ก.  ฮับ                                      ข.  เร้าเตอร์
ค.  สวิตช์                                 ง.  เกตเวย์

3.  จากข้อที่ 2  เพราะเหตุใดจึงใช้อุปกรณ์ดังกล่าว
ก.  เพื่อลดค่าใช้จ่าย                                 ข.  เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ค.  เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับโทรศัพท์บ้าน                    ง.  ผิดทุกข้อ

4.  เครือข่าย  PSTN  คืออะไร
ก.  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง                        ข.  เครือข่ายวงจรเซอร์กิต
ค.  เครือข่าย VoIP                                                                              ง.  เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ

5.  ตามปกติโดยทั่วไป  ระบบโทรศัพท์ตามบ้านใช้ระบบแบบใด
ก.  แอนะล็อก                          ข.  ดิจิตอล
ค. กดปุ่ม                                  ง.  GSM









เฉลย  แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่ 1
1.  ตอบ   ค.
2.  ตอบ   ข.
3.  ตอบ   ค.
4.  ตอบ   ง.
5.  ตอบ   ก.