วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

สื่อกลางแบบตัวนำโลหะ

1.       สื่อกลางแบบตัวนำโลหะ
                    เป็นสายนำสัญญาณ (Transmission line) ที่ใช้ส่งข้อมูลมี สัญญาณไฟฟ้าเป็นพาหะ แยกเป็น 2 แบบ คือ
  •        สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)
  •       สายโคแอกเชียล (Coaxial cable
  
สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair cable)

                ประกอบด้วยสายสัญญาณจำนวนคู่ แต่ละคู่จะพันกันเป็นเกลียวตลอดจนถึงปลาย เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงและจากภายนอก และมีฉนวนภายนอกห่อหุ้มอีกชั้น

 

    แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
 ชนิดหุ้มฉนวน (Shielded twisted pair: STP)
 ชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded twisted pair: UTP)


สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)
                สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (STP)สายไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอล์ย เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภาย นอกสาย และมีฉนวนไฟฟ้า เช่นพลาสติก ห่อหุ้มอีกชั้น
    ระยะทางในการใช้งานจะสามารถใช้ได้ไกล แต่ไม่นิยมเนื่องจากมีราคาแพง  โดยมากจะนำไปใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่มีความเร็วสูง เช่น Gigabit    Network หรือติดตั้งบริเวณที่มีการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาก

สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (UTP)
สายไฟแต่ละคู่จะถูกห่อหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าภายนอกเท่านั้น ป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าแบบ STP
    เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก มักใช้ติดตั้งภายในอาคาร หรือภายในห้อง  หรือหากต้องการติดตั้งภายนอกอาคารจะต้องเดินสายภายในท่อเหล็ก  สามารถใช้ส่งข้อมูลความเร็ว 100 Mbps



สายโคแอกเชียลหรือสายซีลด์(Coaxial cable)
เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวี  มีใช้งานหลายลักษณะงาน ไม่ว่าในระบบเครือข่ายเฉพาะที่  ในการส่งข้อมูลระยะไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์ หรือการส่งข้อมูลสัญญาณวีดิทัศน์



   ที่ใช้ทั่วไปมี  2  ชนิด  คือ 50 โอห์ม  ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล  และชนิด 75 โอห์ม  ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก  สายโคแอกเชียลจะมีฉนวนหุ้มป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนจากภายนอก  สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้กว้างถึง  500  MHz


สายโคแอกเชียล
สายโคแอกเชียลที่ไช้กับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ มี 2 แบบ
  • สายโคแอกเชียลแบบอ่อน (Thinwire coaxial cable)
                              หุ้มด้วยฉนวนแบบบางมีขนาดเล็กโค้งงอได้ง่าย สำหรับติดตั้งในอาคารหรือห้อง
  • สายโคแอกเชียลแบบแข็ง (Thickwire coaxial cable)
          มีฉนวนภายนอกที่หนา  ทำให้สายมีขนาดใหญ่  สามารถทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคาร
เส้นใยนำแสง (Optical Fiber)
                 อาจเรียกว่าเส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก  เป็นตัวกลางของสัญญาณแสง ทำมาจากวัสดุประเภทแก้วที่มีความบริสุทธิ์มาก  เส้นใย
นำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก ขนาดประมาณ เส้นผมของมนุษย์ อาศัยหลักการสะท้อน   และหักเหของแสงในการส่งแสงลงไปในสาย
    ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก
      - แกน (CORE)
      - แก้วหุ้ม (CLAD)
     - ปลอกหุ้มหรือฉนวนภายนอก



ชนิดของเส้นใยนำแสง
วิธีการแบ่งชนิดของเส้นใยแสงมีหลายวิธี เช่น
- แบ่งตามประเภทวัสดุ
    + Silica glass optic fiber
    + Multi component glass optic fiber
    + Plastic optic fiber
- แบ่งตามโหมด (Propagation Mode) ลักษณะการเดินทางของแสง
   + Single Mode optic fiber
   + Multi Mode optic fiber
- แบ่งตามดัชนีการหักเหแสงของ CORE ลักษณะการสะท้อนของแสง
   + Step Index optic fiber (SI - fiber)
   + Graded  Index optic fiber  ( GI  fiber)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น