วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายการสื่อสาร

เครือข่ายการสื่อสาร
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ - ส่งข้อมูล ที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงกันในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า "รูปร่างเครือข่าย" (Network Topology) เมื่อพิจารรณาต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการ
เชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก อาจจะมีตั้งแต่ 2 สถานี ถึง 5ส ถานีขึ้นไป
รูปร่างของเครือข่าย
1.แบบดาว (Star)
เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อ
สื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลาง จึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
2.แบบวงแหวน (Ring)
เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของนเอง โดยจะมีการ
เชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับรู้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของ
ตนเองหรือไมด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป
3.แบบบัสและต้นไม้(Bus , tree)
เป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่าง ๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งงข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน


บทที่ 1 พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
(Fundamental of Data Communications and Networks)
การสื่อสารด้วยการสนทนาพูดคุย จัดเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา ซึ่งหากพิจารณาในรายละเอียดของการพูดคุยสนทนากันนั้น จะประกอบด้วยคู่สนทนาตั้งแต่สองคนขึ้นไป แต่ละคนก็จะสามารถเป็นได้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน คำพูดหรือข่าวสารที่พูดไป ต่างฝ่ายก็ได้ยิน เพราะว่าตัวกลางที่นำพาเสียงพูดไปก็คืออากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรานั่งเอง นอกจากนี้ ยังอาจมีสิ่งรบกวนรอบข้างตัวเราที่เกิดขึ้นในระหว่างสนทนากัน ไม่ว่าจะเป็น สิ่งรบกวนจากธรรมชาติเสียงรถจักยานยนต์ เสียงแตรรถยนต์ เสียงรถตัดหญ้า รวมทั้งเสียงอื่น ๆ ที่เข้ามารบกวนในขณะที่สนทนากัน ทำให้จำเป็นต้องมีสมาธิในการจับใจความระหว่างคู่สนทนามากขึ้นสำหรับการสื่อสารแบบซึ่งหน้าหรือการสื่อสารบนพื้นที่เดียวกัน เป็นการสื่อสารในระยะทางใกล้ ๆ ซึ่งถูกจำกัดในเรื่องของระยะทางเป็นสำคัญ และในกรณีที่ต้องการสื่อสารบนระยะทางที่ห่างไกลกันเป็นไมล์ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ มนุษย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้ามาช่วยเพื่อตอบสนองดังกล่าว
การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูลหรือสารสนเทศจากต้นทาง (Source) ไปยังปลายทาง (Destination) ซึ่งระบบการสื่อสารส่วนใหญ่มักจะหมายถึงระยะทาง (Distance) ระหว่างคอมพิวเตอร์และอาจข้องเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ และวิทยุทัศน์ และหากเป็นระบบการสื่อสารในวงกว้างก็จะมีความซับซ้อนสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจมีการรวมข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ประกอบ ข้อความ เสียง วิดีโอ ที่โอนถ่ายกันบนสายสื่อสาร เช่น สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออปติค หรือสื่อไร้สายอย่างคลื่นวิทยุ และไมโครเวฟ สำหรับเส้นทางของการสื่อสารอาจจะเดินทางผ่านข้ามประเทศ ข้ามทวีป ผ่านใต้ทะเลมหาสมุทร โดยอาจมีการใช้ทั้งสื่อแบบมีสายและไร้สายร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลต้นฉบับที่ส่งไป ซึ่งเดิมอยู่ในรูปแบบของสัญญาณเสียงหรือสัญญาณแอนะล็อก ก็อาจจะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อการเดินทางในระยำไกล ๆ บนสายดิจิตอลความเร็วสูง และท้ายสุดเมื่อสัญญาณเดินทางไปถึงปลายทางก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกลับมาเป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อให้เหมือนกับ ต้นฉบับข้อมูลที่ส่งมา สิ่งเหล่านี้หากมองในลักษณะภาพรวมแล้ว ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เลยทีเดียว แต่สำหรับโลกแห่งเทคโนโลยี การสื่อสารในยุคปัจจุบันนี้ ถือเป็นเรื่องราวปกติ
เทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาคอมพิวเตอร์ โดยมีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันในลักษณะเครือข่ายซึ่งอาจอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้กัน หรืออาจอยู่ต่างบริเวณที่มีระยะทางไกลกันออกไปแต่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและเครือข่ายจะทำให้สามารถสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ ตัวอย่างเช่น การดำเนินธุรกรรมกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น การฝากเงิน การถอนเงิน การตรวจสอบยอดบัญชี สิ่งเหล่านี้สามารถดำเนินการได้โยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังธนาคาร แต่สามารถดำเนินธุรกรรมดังกล่าวได้ผ่านเครื่องบริการเงินด่วนหรือเครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งเราอาจใช้บริการอยู่ภายในจังหวัดหรือต่างจังหวัดที่ห่างไกลกันก็ได้ ก็เพราะว่าเครื่องเอทีเอ็มเหล่านี้ได้ มีการเชื่อมต่อออนไลน์กันในลักษณะเครือข่าย ทำให้สามารถสื่อสารและใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้นั่นเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น